มอง Clubhouse โอกาสใหม่ของคนมีของ หรือแค่ของเล่นแก้เหงา

คลับเฮ้าส์ (Clubhouse) แอปพลิเคชั่นที่กลายเป็นเครือข่ายโซเชียลมีเดีย กำลังเป็นกระแสดังไปทั่วโลก หลังจากมีทั้งคนดัง นักธุรกิจ นักลงทุน ตบเท้าเข้ามารับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจนโด่งดังไปทั่วโลก และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อีลอน มัสก์ เป็นคนทำให้เราได้รู้จักแอปนี้

ด้วยจุดแข็งที่มีเอกลักษณ์ของคลับเฮ้าส์คือคนที่จะเล่นได้ต้องมี iPhone เท่านั้น หรือต้องมีคนเชิญ (invite) ถึงจะเข้าฟังกรุ๊ปได้นั้น แม้จะเป็นเสน่ห์ที่คนพูดถึง แต่ขณะเดียวกันก็เป็นจุดอ่อนที่ทำให้มีคู่แข่งพัฒนาออกมาสู้ได้เช่นกัน

อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเสน่ห์ของคลับเฮ้าส์ คือ คอนเทนต์ที่ฟังซ้ำไม่ได้อีก ต้องฟังในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งหากห้องนั้นมีคนนำมาบอกต่อหรือเขียนสรุปให้ก็อาจจะทำให้คนอื่นๆ ได้รับรู้เรื่องราวที่คนเขาคุยกันในนั้น ซึ่งข้อดีคืออาจจะได้ข้อคิดหรือแง่มุมดีๆ จากการฟังเอง แต่ถ้าคนบอกต่อใส่อคติในการเล่า ก็ย่อมได้รับสารที่ผิดเพี้ยนไป

ทำไมถึงควรเล่นคลับเฮ้าส์
ไม่ใช่แค่คนดัง นักแสดง ดารา นักพูด นักจัดรายการ หรืออาชีพที่อยู่หน้ากล้องเท่านั้นที่สามารถพูดได้ แต่จะเป็นใครก็ได้ที่อยากพูด อยากแชร์ สามารถเป็นโฮสต์ชวนคนมาฟังและให้ผู้ฟังตอบข้อซักถามได้ทั้งนั้น

ซึ่งนั่นก็เป็นโอกาสสร้างตัวตนอีกช่องทางหนึ่ง เพราะมีคนมากมายเกิดจากโซเชียลมีเดียต่างกัน แล้วแต่ว่ารูปแบบคอนเทนต์นั้นจะโดนใจคนหรือไม่ ซึ่งอินฟลูเอนเซอร์หลายคนก็ใช้ช่องทางนี้ในการพูดคุยในเรื่องที่ตนเองถนัดและเข้าถึงฐานแฟนที่ติดตามเขาอย่างใกล้ชิด

และก็มีสื่อออนไลน์หลายคนเริ่มที่จะเข้ามาหาเรื่องคุย ด้วยการดึงคนที่เขารู้จักมาเป็นโฮสต์เพื่อถามกันต่อหน้าแบบไม่ต้องออกกล้อง เช่น The Standard มีการเชิญนักการเมืองพรรคต่างๆ มาคุยกัน RainMaker ก็ชวนคนดังบนโลกออนไลน์และอินฟลูเอนเซอร์มาแชร์ประสบการณ์ต่างๆ Creative Talk ก็ชวนคนโฆษณาวงการเอเจนซี่มาแชร์ข้อมูล หรือ Techsauce ก็ชวนคนเทคชื่อดังมาคุยเรื่องเทคโนโลยีมอง Clubhouse โอกาสใหม่ของคนมีของ

เรียกได้ว่าการเข้ามารับลูกและสร้างโอกาสของสื่อออนไลน์เหล่านี้ ทำให้ Clubhouse มีสีสันมากขึ้น

แน่นอนสิ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือการเปิดห้องแชร์เรื่องราวของราชวงศ์โดย อ.ปวิน ไม่ได้ เพียงวันแรกที่เปิดห้องก็มีผู้เข้าฟังกว่า 6,000 คน เรียกว่าเกินลิมิตห้อง จนต้องมีคนในห้องแรกนำเสียงออกมาให้ฟังต่อในห้องที่สอง ซึ่งประเด็นที่คุยกันในห้องนั้น เรียกว่าคุยกันอย่างสงบไม่ได้โจมตี กล่าวร้าย แต่เป็นการคุยแบบแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน จนดีอีเอส.ถึงขั้นออกโรงเตือนว่าให้ใช้งานด้วยความระมัดระวัง

 

ได้ไปต่อหรือพอแค่นี้
ด้วยกระแสที่มาอย่างร้อนแรงช่วงนี้ ทำให้ Clubhouse กำลังเดินตามรอย TikTok แบบเมื่อปีที่แล้ว คือโด่งดังแบบรวดเร็ว แต่จะรักษาความดังไปต่อได้นานหรือไม่ อาจต้องติดตามกันต่อไปว่า ผู้ใช้งานหรือสื่อออนไลน์ จะมีเรื่องคุยไม่จบไปอีกนานแค่ไหน

เพราะมีผู้เชี่ยวชาญในวงการ Startup อย่างคุณ สมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ได้แชร์ข้อมูลว่า ระบบของ Clubhouse ตอนนี้เป็นเวอร์ชั่น 1.0 และจะมีการทำออกมาทั้งหมด 6 Pillars ที่ได้แจ้งกับเหล่านักลงทุน นั่นคือ จะมีการต่อยอดจาก Voice Social ไปเป็น Video Social, Live Commerce, VR Gaming on Clubhouse, Education Platform และ Telemed on Clubhouse ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้นจะทำได้ทั้งหมดหรือไม่ ก็เป็นเส้นทางที่ทีมก่อตั้ง Clubhouse จะต้องพยายามกันต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคนดังบนโลกออนไลน์หลายคน ที่มองว่าเป็นโอกาสของคนสายมีเดียในการสร้างฐานแฟนเพราะเราไม่อาจคาดเดาพฤติกรรมของคนยุคออนไลน์ได้เลยว่าจะไหลไปใช้งานช่องทางไหนกันบ้าง

ส่วนแบรนด์หรือเจ้าของธุรกิจนั้น หากมีผู้บริหารที่เป็นคนเก่งมากๆ และเป็นที่รู้จักในงานอีเว้นท์ อย่างเช่น คุณรวิศ จากแบรนด์ศรีจันทน์ คุณบุณย์ญานุช จากแบรนด์บาร์บีคิวพลาซ่า คุณณัฐวุฒิ จากอุ๊กบี เป็นต้น

ยอดดาวน์โหลดพุ่งเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มโซเชียลมีเดีย
นอกจากจะได้รับการจัดเรตติ้งสูงถึง 4.8 เต็ม 5 ดาวแล้ว ยังขึ้นเป็นอันดับ 1 บน Top Chart Social Media แซงหน้า LINE Facebook Messenger และ Facebook หลังจากเปิดตัวไปเมื่อพฤษภาคม 2563 จนถึง 31 มกราคม 2564 มียอดดาวน์โหลดแตะ 2.3 ล้านครั้ง (ตอนนี้คาดว่าจะเกินไปอีกมากแล้ว) ทำให้แอปนี้มีมูลค่าธุรกิจแตะหลักพันล้านดอลล่าร์สหรัฐไปแล้ว (ที่มา : BBC)

ในยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดน และเทคโนโลยีเชื่อมโยงคนทั่วโลกให้ถึงกันได้ ย่อมมีแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ออกมาสร้างสีสันและเพิ่มการใช้งานอย่างไม่หยุดนิ่ง หากคุณทำธุรกิจที่ต้องเข้าถึงลูกค้าที่อยู่บนโลกออนไลน์ หรือศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปก็ต้องไม่พลาดที่จะศึกษาแต่ละแอปที่เกิดขึ้นทุกวัน

ขอบคุณแหล่งที่มา : businesstoday.co

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : liveloveaugusta.com